นันทนาการ


นันทนาการ ( Recreation ) หมายถึง กิจกรรมที่คนเราใช้เวลาว่างจากภารกิจงานประจำโดยเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ทำในยามว่าง และ ต้องไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและกฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจ หรือก่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การเล่น พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด ซึ่งการการมีเล่นช่วยพัฒนาและเป็นการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นทักษะการเคลื่อนไหว สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาว่างหรือ วันหยุด สุดสัปดาห์ ซึ่งโดยทั่วไปของกิจกรรมนันทนาการสำหรับมนุษย์ สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้คือ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การท่องเที่ยว การเล่นกีฬาเป็นต้น





นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธน หรือเสถียรโกเศศได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ.2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Recreation" มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของนันทนาการไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

นันทนาการ หมายถึง กิจกรรม (Activities) ต่างๆ ที่บุคคลเข้าร่วมในช่วงเวลาว่าง โดยไม่มีการบังคับหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ มีผลก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานหรือความสุขสงบ และกิจกรรมนั้นๆ จะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปหัตกรรม การอ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการกลางแจ้งนอกเมือง


ประโยชน์ของนันทนาการ
1. ต่อครอบครัว : กิจกรรมนันทนาการ เป็นสื่อสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สมาชิก
2. ต่อชุมชน : นันทนาการจะช่วยพัฒนาชุมชน คือ ช่วยสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดี มีเหตุผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักการเสียสละ
3. ต่อประชากรในสังคม : กิจกรรมนันทนาการจะเป็นสื่อและส่งเสริมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. ต่อประเทศชาติ : กิจกรรมนันทนาการ จะช่วยให้ ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดปัญหาอาชญากรรม ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุข

ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ
1. นันทนาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ตั้งแต่เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี ละคร กิจกรรมกลางแจ้งนอกเมือง งานอดิเรก โยคะ สมาธิ
2. นันทนาการมีรูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จำกัด
3. นันทนาการจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและมีแรงจูงใจ
4. นันทนาการเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่จำกัด บุคคลมีอิสระที่เข้าร่วม
5. นันทนาการจะต้องมีจุดมุ่งหมาย เป็นการ พัฒนาอารมณ์สุข
6. นันทนาการเป็นการบำบัดรักษา ช่วยฟื้นฟู และรักษาคนไข้
7. นันทนาการเป็นกิจกรรมที่สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม สภาพแวดล้อม ความต้องการและสนใจของชุมชน ตลอดจนอุปกรณ์ และสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก
8 นันทนาการจะต้องเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม กิจกรรมนันทนาการของสังคม หรือ ชุมชนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกชุมชนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะความสนใจ ต้องการค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี สภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นขอบข่ายวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการจะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ๆ

.....................................................................






















กิจกรรมละลายพฤติกรรม

กิจกรรมละลายพฤติกรรม คือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแสดงความเป็นตัวเองทำความรู้จัก และเปิดเผยตัวเองออกมาให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้รู้จักกันมากขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วเมื่อมนุษย์ได้เข้ามาสู่สถานที่ใหม่หรือสังคมใหม่ มักจะสร้างกำแพงของตัวเองเพื่อป้องกันตัวเองด้วยสาเหตุต่างๆตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการปิดกั้นตัวเองก่อนการปรับตัวเพื่อเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ๆนั่นเอง กิจกรรมละลายพฤติกรรมจึงเป็นเครื่องมือให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาส ทำความรู้จักโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน และเปิดเผยความเป็นตัวเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน เสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรได้เร็วกว่าการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปรับตัวเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ๆเอง ซึ่งกระบวนการละลายพฤติกรรม ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก่อนเริ่มกิจกรรมต่างๆ ในการจัดการอบรม,Walk Rakky หรือค่อยพักแรม

วัตถุประสงค์ ของกิจกรรมละลายพฤติกรรม
1.เพื่อส่งเสริมการรู้จักกันของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสเปิดเผยความเป็นตัวเอง
3.เพื่อก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4.เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร




ตัวอย่าง กิจกรรม Walk Rally ริมชายหาดเกาะกูด โดย Green Recreation Group ของเรา